Since 1973

ช้างของเรา


ตอนนี้ธุรกิจของคุณไพรัตน์ มีจำนวนช้างกว่า 30 เชือก และยังมีพนักงานบางส่วนกว่า 100 ชีวิต ในทุกๆวัน ท่านได้มีการจัดกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมกว่า 1,000 คน ในแต่ละเดือน โดยมีคุณไพรัตน์เป็นผู้จัดการการแสดง โดยการแสดงจะเป็นการสาธิตวิถีต่างๆของคนและช้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การอาบน้ำให้ช้าง การฝึกช้างเบื้องต้น การแสดงการทำงานของช้างไทยในป่าในอดีต โดยการแสดงของช้างที่หมู่บ้านช้างพัทยาจะไม่มีการแสดงในลักษณะของละครสัตว์ เช่นการเตะฟุตบอล การเต้นระบำ และลูกเล่น อื่น ๆ ที่หมู่บ้านช้างจะไม่มีการละเล่นลักษณะนี้ อาจจะให้ช้างยิงลูกบาสเก็ตบอล ก็จะมีการอธิบายให้รู้ว่า ช้างอาจจะยืนยืดตัวได้เมื่อจำเป็น ผู้เข้าชมอาจจะเห็นช้างบางเชือกฟังคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชมเป็นภาษาต่างประเทศ นั่นก็เป็นวิธีที่ควาญใช้ความสามารถของควาญและช้างเชือกนั้นๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความผูกพันของช้างและควาญแต่ละคู่ หมู่บ้านช้างพัทยามีเนื้อที่กว้างกว่า 100 ไร่มี สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่ดีสำหรับ ช้าง มีน้ำที่เพียงพอสำหรับอาบ กิน มีป่าสมุนไพรที่เป็นยาตามธรรมชาติ มีบุคลากรที่ทำงานประกอบการเลี้ยงช้างที่เพียงพอ มีสัตวบาลสัตว์ใหญ่อยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา และมีนายสัตวแพทย์ดูแลเป็นประจำทุกเวลา

สำหรับการทำความเข้าใจที่เกี่ยวกับช้างนั้น โดยมากความรู้เรื่องช้างจะอยู่ในแวดวงค่อนข้างจำกัด ในประเทศไทยโดยมากจะรู้ว่าในอดีตกาลมีการใช้ช้างในราชการสงคราม เช่นในสงครามไทยพม่า สงครามยุทธหัตถี และต่อมาก็เป็นการใช้ช้างในองค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ บุคคลในปัจจุบันมองว่าการมีปางช้าง สถานที่ต่างๆที่ใช้ช้างเพื่อการท่องเที่ยว การให้บริการลูกค้าขี่ช้างนั้นเป็นการทารุณสัตว์ การใช้โซ่ผูกมัดควบคุมช้างเป็นการกระทำที่มองดูไม่ดีสำหรับช้าง แต่อันที่จริงแล้วในอดีตที่ใช้ช้างในการทำงานป่าซุงนั้น เป็นการใช้ในงานที่หนักหนากว่าการให้บริการขี่ช้างมาก งานป่าซุง ผู้ใช้งานจะใช้ช้างลากซุงที่มีน้ำหนักประมาณไม่เกินครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวช้าง และใช้ช้างดันน้ำหนักไม่เกินน้ำหนักของตัวช้างและ จะใช้ช้างแบกน้ำหนักบนหลังประมาณเศษ 1 ส่วน 10 ของน้ำหนักตัวช้าง ซึ่งช้างงานนั้นๆอาจทำงานถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการใช้งานช้างที่เบากว่าการทำงานมาก ในแต่ละรอบจะใช้งานช้างแบกน้ำหนักบนหลังไม่เกิน 150 กิโลกรัม (2 คน) ต่อการเดินประมาณ 1 ชั่วโมงต่อเที่ยว ซึ่งในการให้บริการขี่ช้างนี้เป็นวิธีการที่เหมาะสมในสายตาของคนเลี้ยงช้าง ซึ่งจะมีรายได้พอจ่ายค่าเลี้ยงดูช้างนั้นๆบ้าง



parallax background

มีคำถามว่าทำไมต้องผูกมัดโซ่

คำตอบก็คือช้างเป็นสัตว์ที่ไม่อยู่นิ่ง จะต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลาเพื่อจะไปที่อื่น ซึ่งถ้าหากว่าช้างหลุดไป ก็อาจเกิดเหตุการณ์ขึ้นได้จำต้องควบคุมด้วยโซ่ตลอดเวลาที่เลี้ยงดู

มีคำถามว่าทำไมไม่ปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ

คำตอบก็คือช้างที่อยู่กับคนมาโดยตลอด ที่เรียกว่าช้างบ้าน จำนวน 4,000 เชือกนั้นไม่สามารถเข้าอยู่ร่วมกับช้างป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า จำนวน 56,270 ตารางกิโลเมตรได้ เพราะช้างป่าจะรังเกียจกลิ่นคน และอาจทำลายชีวิตช้างบ้านที่ปล่อยสู่ธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้านช้างที่มีขึ้นเพื่อการดำรงอยู่ของช้างของเรานั่นเอง