History

" นายไพรัตน์ ไชยะคำ ประธาน หมู่บ้านช้างพัทยา "


คุณไพรัตน์ เป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับช้างมากท่านหนึ่ง โดยท่านได้มีการรักษาช้างมานานกว่า 43 ปี ท่านเป็นคนรักสัตว์ใหญ่และจากความรักของท่านที่มีให้กับสัตว์ ท่านจึงได้สร้างธุรกิจขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ "ผมเคยมีความสงสัยเกี่ยวกับช้าง เมื่อตอนที่ผมยังเป็นเด็ก " คุณไพรัตน์กล่าว " จะทำอย่างไรกับการให้อาหารพวกสัตว์เหล่านี้ ในแต่ละวันพวกเขากินอาหารมากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ผมรู้คำตอบ และมีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ช้างเป็นจำนวนมาก ประมาณ 1,000 - 8,000 บาท ต่อวันต่อเชือก ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าว จะเริ่มต้นที่ค่าจ้างควาญอย่างน้อย 1 คนเป็นเงินเริ่มต้นที่ 300 บาทต่อวัน ไม่รวมเบี้ยเลี้ยงประมาณ 200 บาทต่อวัน ต่อการดูแลช้าง หนึ่งวัน ค่าอาหารประมาณ 200 กิโลกรัมเป็นกล้วย อ้อย สับปะรด และอื่นๆโดยเฉลี่ยประมาณเป็นเงินกิโลละ 25-35 บาท จะเป็นเงินเริ่มต้นที่ ประมาณ 7,000 บาท ยังไม่รวมค่ายาบำรุงและค่ายารักษาโรคในกรณีเจ็บป่วยอีกด้วย ซึ่งยารักษาโรคของช้างจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ดังนั้นการดูแลช้างแต่ละเชือกเกือบจะเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อต่อการที่จะดูแลช้างให้สมบูรณ์ได้ ซึ่งผู้ที่สามารถจะทำได้จะต้องเป็นผู้ที่ขยันและมีความเพียรและความสามารถที่จะหาค่าใช้จ่ายมาให้ได้
หมู่บ้านช้างพัทยาในปัจจุบันนอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์แล้ว ยังเป็นสถานที่ๆดูแลและอภิบาลช้างโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นช้างป่วยหรือช้างพิการ อีกทั้งยังขยายพันธุ์ช้าง โดยมีพ่อพันธุ์ในการขยายพันธุ์ช้างทั่วไป ตลอดจนการให้ความรู้ที่เกี่ยวกับช้าง ทั้งช้างป่าและช้างบ้าน

หมู่บ้านช้างพัทยาเป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยคุณไพรัตน์ ไชยะคำ โดยได้ทุนมาจากการปฏิบัติงานส่วนตัวจากหน่วยงานในรัฐบาลอเมริกัน ตั้งแต่ปี 1965 ถึง 1973 โดยตั้งแต่เริ่มกิจการมา ผลตอบรับยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจาก ได้ถูกตีความหมายของการทำกิจกรรมปางช้างนั้นเป็นการทรมานสัตว์ ซึ่งควรจะต้องมีการอธิบายให้ชัดเจนโดยบุคคลระดับประเทศที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ช้างอย่างแท้จริง
หมู่บ้านช้าง พัทยา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 48/120 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีบริษัท ไพรัตน์ ไชยะคำ จำกัดเป็นเจ้าของกิจการ เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1973 เดือนพฤศจิกายน สถานที่เปิดครั้งแรก อยู่ที่ กิโลเมตรที่ 144-145 ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยาเหนือ เรียกว่าเพนียดช้างพัทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อการดูแลช้างเร่ร่อนทั่วไป โดยมุ่งเน้นไปที่อดีตช้างทำงานป่าซุง หรือ ช้างที่บาดเจ็บหรือ สุขภาพไม่ดี ไม่สามารถ นำมาใช้งานได้อีก และกลายเป็นช้างที่เร่ร่อน ในการริเริ่มครั้งแรกได้มีการนำช้างเข้ามาในพื้นที่เมืองพัทยาจำนวน 20 เชือก เป็นการเริ่มต้นของช้างที่ไม่มีงานทำในตอนนั้น และได้นำมาต่อการที่มีช้างในอำเภอบางละมุงจำนวนกว่า 400 เชือกในวันนี้ และมีการใช้ช้างว่างงานได้ทำงานในจังหวัดต่างๆในปัจจุบันนี้ในจำนวนถึง 4,000 เชือก